สุดขอบฟ้าแห่งดินแดนมหัศจรรย์( Edge of the Wonderland)

2 พฤศจิกายน 2561 – 28 กุมภาพันธ์ 2562


ทีมงานภัณฑารักษ์

ภัณฑารักษ์หลัก : Prof. Dr. Jiang Jiehong
ภัณฑารักษ์ผู้ช่วย : ดร. วิภาช ภูริชานนท์, ดร. วิชญ มุกดามณี
คณะภัณฑารักษ์ : ให้แสง ชวนะลิขิกร, Nhung Walsh, ปาลิน อังศุสิงห์, พนัชกร วิรัตน์มาลี, Federica Mirra, อัจนา วะจิดี, กรแก้ว นกแก้ว


เทศกาลศิลปะร่วมสมัยระดับสากลครั้งยิ่งใหญ่ ที่สุดของประเทศไทยกำลังจะเกิดขึ้นในงานเบียนนาเล่ ที่จัดโดยสำนักงานคิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเบียนนาเล่ ครั้งแรกในเมืองไทย ในฐานะโครงการศิลปะร่วมสมัย ระดับชาติโครงการแรก โดยมีการคัดเลือกเมืองและ สถานที่ต่างๆ ในประเทศไทยมาใช้เป็นสถานที่จัดงาน แต่ละรอบ ต่างจากนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ศิลปะ ทั่วไป Thailand Biennale จะจัดขึ้นในพื้นที่สาธารณะ และพื้นที่ธรรมชาติกลางแจ้งในกระบี่เป็นหลัก

กระบี่คือจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่บน ชายฝั่งตะวันตกทางตอนใต้ของประเทศ มีแนวชายฝั่ง ยาว 160 กิโลเมตร จากอ่าวลึกไปจนถึงคลองท่อม บนเขตจังหวัดตรัง ท่ามกลางทัศนียภาพของภูเขา หินปูนสลับกับพื้นที่ราบสูงเล็กๆ และที่ราบชายฝั่งบน แผ่นดินใหญ่ โดยมีจุดสูงสุดที่เขาพนมเบญจา ที่ซึ่ง น้ำจากตาแม่น้ำลำรารคอยหล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนในแถบ นั้น ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่ปกคลุมไปด้วยป่าฝนหลายหมื่น เอเคอร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นต้นโกงกางและราชพฤกษ์ มีแม่น้ำกระบี่ที่ไหลเป็นระยะทาง 5 กิโลมตร ตัดผ่าน ตัวเมืองก่อนจะลงสู่ทะเลอันดามันและตำบลปากน้ำ เกาะน้อยใหญ่กว่า 150 เกาะ ในทะเลอันดามันล้วนมี ผาหินสูงชันและทะเลสาบน้ำเค็มรูปโค้ง กับเนินเขา หินปูนที่มีถ้ำหินงอกหินย้อยนับไม่ถ้วน เป็นสถานที่ที่ นักโบราณคดีสืบสาวประวัติศาสตร์ของมนุษย์ย้อน กลับไปได้ถึง 40,000 ปีก่อน ร้อยละ 50 ของรายได้ ในพื้นที่นี้มาจากเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำยาง และน้ำมันปาล์ม และรายได้ส่วนที่เหลือมาจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งเพิ่งพัฒนาขึ้นในช่วงปลาย ทศวรรษที่ 80 และเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วหลังมี การสร้างสนามบินนานาชาติในทศวรรษที่ 90 กระบี่ กลายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของโลก ที่มีแหล่งห่องเที่ยวชื่อดัง อย่างอุทยานแห่งชาติ หาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี อ่าวนาง หาดไร่เล และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา อันเป็นดั่งมรกต แห่งทะเลอันดามัน

การที่จังหวัดกระบี่ถูกเลือกเป็นสถานที่หลัก สำหรับจัดงาน Thailand Biennale ครั้งนี้ ทำให้ ศิลปินมีโอกาสที่จะสร้างผลงานที่สอดคล้องกับ สถานที่ธรรมชาติ เช่น ชายหาด (เกาะปอดะ เกาะไก่ หาดนพรัฒน์ธารา อ่าวนาง) สำธาร (ท่าปอมคลอง สองน้ำ) ถ้ำ (เขาขนาบน้ำ) ผา (อ่าวไร่เล) น้ำตก และป่าฝน (อุทยานแห่งชาติธารโบกพรณี) ตลอดจน หมู่บ้านชุมชนต่างๆ (เกาะกลาง) และพื้นที่สาธารณะ ในตัวเมืองจังหวัดกระบี่ ไม่ว่าจะเป็นที่ที่ยังเปิดให้ บริการหรือที่ร้าง การที่กระบี่กำลังจะกลายเป็น ศูนย์กลางแห่งวัฒนธรรม เกษตรกรรม และการท่องเที่ยวของทะเลอันดามัน และนำเสนอประสบการณ์ ธรรมชาติที่แปลกใหม่ให้แก่ผู้มาเยือนจากทั่วโลก เบียนนาเล่ครั้งนี้จะช่วยยกระดับความเป็นตำนานของ จังหวัดให้กับคนในพื้นที่ และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

วัฒนธรรมต่างๆ มีมุมมองเรื่อง ‘แดนมหัศจรรย์ แตกต่างกันออกไป ในตะวันตก เรารู้จักเรื่องราวการ ผจญภัยของอลิซอันโด่งดังที่ลูอิส แคร์รอล ประพันธ์ ขึ้นในปี 1865 เมื่อเด็กหญิงคนหนึ่งที่มีนามว่าอลิซ ได้ตกลงไปในโพรงกระต่าย เข้าสู่โลกแห่งจินตนาการเพ้อฝันที่เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตอันประหลาดที่มีท่าทาง เหมือนมนุษย์ อย่างเช่นกระต่ายขาวสวมเสื้อกั๊ก ชายสวมหมวก หนอนผีเสื้อสูบมอระกู่ และแมวเซสเซียร์ เจ้าของรอยยิ้มอันมีเอกลักษณ์ แดนมหัศจรรย์นี้ เชื่อมโยงกับความเป็นจริงในชีวิตประจำวันของเรา แต่กระนั้นก็ยังเป็นสถานที่ซ่อนเร้น และไปเยือนได้ เฉพาะในความฝันและการเดินทางในจินตนาการเท่านั้น

ฝั่งตะวันออก เรื่องราวจากวัฒนธรรมและ ภูมิประเทศต่างๆ เป็นจุดกำเนิดของตำนานจีน และ ปรากฏเป็นครั้งแรกในตำนานภูผามหาสมุทร ใน ศตวรรษที่ 4 ก่อนสากลศักราช เป็นที่รู้กันว่าหนังสือ เล่มนี้ไม่ได้ถูกเขียนขึ้นในคราวเดียวโดยผู้เขียน คนเดียว แต่เป็นการรวบรวมเรื่องราวจากนักเขียน หลายคนในระหว่างยุครณรัฐถึงสมัยต้นราชวงศ์ฮั่น หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงภูมิภาค ภูเขา แม่น้ำ สัตว์ และ สิ่งมีชีวิตปริศนามากมาย ทั้งยังบันทึกเรื่องเล่า เกี่ยวกับตำนานและวีรบุรุษ เช่น ยักษ์กัวพู่ ที่อยากจะ จับตัวนหวี่วา เทพีที่มีลักษณะครึ่งคนครึ่งงูเห่า ซึ่ง เป็นผู้สร้างมนุษยชาติและฟื้นฟูท้องฟ้า กับนกจิงเหว่ย ที่ตั้งใจจะถมทะเลตะวันออกด้วยกรวดหรือกิ่งไม้ ในเอเชียใต้ เรามีป่าหิมพานต์ในตำนาน ที่ตั้งอยู่ รอบๆ เชิงเขาพระสุเมรุในตำนานฮินดู ซึ่งมนุษย์ไม่อาจ มองเห็นหรือเข้าถึงได้ มีความเชื่อว่าป่าหิมพานต์เป็น ที่อยู่ของสิ่งมหัศจรรย์มากมาย เช่น นาค (เทพงู) กินรี(ครึ่งคนครึ่งนก) และครุฑ (ราซาวิหค) สิ่งมีชีวิต เหล่านี้กลายเป็นแม่บทที่ปรากฏอยู่ในศิลปะและ วรรณกรรมพื้นบ้านของไทย และอยู่ในมหากาพย์ รามายณะและตำนานพระสุธนกับมโนราห์ และใน ลักษณาการนี้เองที่ตำนานเกี่ยวกับแดนมหัศจรรย์ ยังคงอยู่มาถึงยุคปัจจุบัน

ในโครงการคัดสรรงานศิลปะนี้ เราจะกลับไปเยือน ชายขอบแดนมหัศจรรย์กันอีกครั้ง คำว่า ‘ซายขอบ’ ในชื่องานนี้มีความหมาย 3 ประการ ประการแรกคือ การเป็นคำบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เช่นเดียวกับจังหวัด อื่นๆ บนชายฝั่งตะวันตกของประเทศไทย จังหวัดกระบี่ และสถานที่จัด Thailand Biennale ตั้งอยู่บนแนว ชายฝั่ง ซึ่งอาจมองว่าเป็นทั้งชายขอบของแผ่นดินใหญ่ หรือชายขอบทะเลอันดามัน เป็นทั้งจุดเริ่มต้นและ จุดจบของเขตแดนที่มันตั้งอยู่และกั้นขวาง ประการ ที่สอง คำว่าชายขอบนี้มีนัยสำคัญทางประวัติศาสตร์ และทางวัฒนธรรมในภูมิภาคนี้ ในปี 1872 ชาวบ้าน ได้ขุดค้นกระบี่โบราณสองเล่มที่บ้านนาหลวง และ นำไปมอบให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด กระบี่สองคม ทั้งสองเล่มเคยถูกนำไปวางไขว้กันไว้ในถ้ำเขาขนาบน้ำ เพื่อเป็นสัญลักษณ์มงคลระหว่างการพัฒนาภูมิภาค และต่อมาได้กลายเป็นตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัด โดยมีมหาสมุทรอินเดียกับภูเขาพนมเบญจาเป็น ฉากหลัง กระบี่สองเล่มถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์ หว่า กลับไม่มีการค้นพบว่าใครเป็นเจ้าของ และมีต้นกำเนิดจากที่ไหน ทำให้เกิดเป็นตำนานและเรื่องเล่ามากมาย ที่ถูกตีความแตกต่างกันออกไป ประการที่สาม ถ้าพูด ถึงเรื่องของมโนทัศน์ในบริบทของแดนมหัศจรรย์ ชายขอบคือเส้นแบ่งระหว่างในและนอก เป็นจุดหลัก ที่สำคัญ เช่นเดียวกับโพรงกระต่ายในการผจญภัย ของอลิซ เป็นเส้นแบ่งระหว่างความจริงและจินตนาการ สิ่งที่มีอยู่กับสิ่งที่นึกฝัน สิ่งที่จับต้องได้กับสิ่งที่เป็น จิตวิญณาณสิ่งที่ประสบได้กับสิ่งที่เหนือประสบการณ์ และสิ่งที่รับรู้กับสิ่งที่เป็นปริศนา ซายขอบเป็นตัวแทน ของการก่อกำเนิดแดนมหัศจรรย์ที่กระตุ้นความสงสัย เป็นแรงบันดาลใจให้เราสำรวจ ผจญภัย และจินตนาการ

นิทรรศการกลางแจ้งระยะเวลา 4 เดือน ในกระบี่นี้ ไม่ได้มีขึ้นเพื่อจัดแสดงงานคิลปะแบบดั้งเดิมอย่าง ประติมากรรมหรือจิตรกรรมภายใต้แนวคิดเรื่อง ‘ศิลปะสาธารณะ’ แต่เป็นการจำลองกลยุทธ์เชิง สร้างสรรค์และการใช้ความคิดริเริ่มสำหรับงานศิลปะ จัดวางที่ทำขึ้นเพื่อสถานที่หนึ่งๆ ‘พื้นที่’ ในเบียนนา เล่นี้ไม่ได้ประกอบด้วยฉากสีขาวหรือดำตามแบบ นิทรรศการทั่วไป และไม่ได้เป็นโครงสร้างที่หยุดนิ่ง แต่อาจแปรสภาพไปในแต่ละวันได้ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและผู้คน สถานที่ต่างๆ ที่คัดสรรมาเพื่อการนี้ ล้วนได้รับการแต่งแต้มด้วยความงามของธรรมชาติ เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ทั้งหาดทรายขาวสะอาด ต้นปาล์ม ป่าและธารน้ำ ซึ่งเป็นที่รองรับนักท่องเที่ยวหลาย หมื่นคนระหว่างฤดูท่องเที่ยว (เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน) สิ่งที่น่าสนใจคือ ศิลปินจะโต้ตอบกับ สถานที่ทั้งในเชิงสอดคล้องและขัดแย้งอย่างไรใน การสร้างผลงานที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งในทัศนียภาพ ได้สำเร็จ

สำหรับงานครั้งแรก สุดขอบฟ้าดินแดนมหัศจรรย์ จะนำเสนอผลงานที่ทำขึ้นสำหรับสถานที่เหล่านี้ โดยศิลปินจำนวนกว่า 50 คน (กลุ่ม) จาก 25 ประเทศ/เขตแดน เบียนนาเล่ครั้งนี้เป็นการส่งเสริมการสำรวจทางทัศนศิลป์เพื่อสร้างวิธีคิดใหม่ ๆ และเชิญชวนให้ทุกคนมาร่วมเดินทางในการผจญภัย และใคร่ครวญความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะ ธรรมชาติ และชีวิตประจำวันไปด้วยกัน

Jiang Jiehong
ภัณฑารักษ์หลัก, Thailand Biennale ครั้งแรก
กันยายน 2018


ศิลปิน

Alfredo and Isabel Aquilizan, Vladimir Arkhipov, Aram Bartholl, Lucy Beech, Félix Blume, A K Dolven, Saravudth Duangjampa, Ayşe Erkmen, Takafumi Fukusawa, Amber Ginsburg (Sara Black and Charlie Vinz), Rania Ho, Dusadee Huntrakul, Aki Inomata, Mella Jaarsma, Jiandyin, Valentina Karga, Bharti Kher, Yuree Kensaku, Ignas Kruglevičius, Alicja Kwade, Oliver Laric, Kamin Lertchaiprasert, Leung Chi Wo, Lu Pingyuan, Luxury Logico, Map Office, Mayrhofer-Ohata, Dane Mitchell, Vichoke Mukdamanee, Camille Norment, Donna Ong, Giuseppe Penone, Vong Phaophanit and Claire Oboussier, Chong Boon Pok, Benjamin Rivers and Anocha Suwichakornpong, Chemi Rosado-Seijo, Chusak Srikwan, Richard Streitmatter-Tran, Jedsada Tangtrakulwong, Kamol Tassananchalee, Luong Tran, Tu Wei-Cheng, Rikuo Ueda, Vertical Submarine, Panya Vijinthanasarn, Wang Sishun, Wang Wei, Wang Yuyang, Jana Winderen, Tori Wrånes, Yang Zhenzhong, Zhang Peili, Zhao Zhao and Zheng Bo.


No Sunrise No Sunset, 2018 Fibreglass, aluminium composite panel, steel and concrete Photo by Aroon Permpoonsopon
Four Colours Make a Forest Donna ONG
A Great, Correct, Elegant, Spotless and Tailored Refurbishment ZHANG Peili
Football Field for Buffalo Takafumi FUKASAWA
Coming Community Valentina KARGA