ไทยวนปิ๊กบ้าน : การสืบทอดและส่งต่อ

  • 14 ธันวาคม 2566
  • 9:00 - 15:00 น.
  • โบราณสถานหมายเลข 16 ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน
  • -

โดย บ้านนอก ความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรม

ขอเชิญทุกท่านร่วมพิธีมาติกาบังสุกุลและร่วมล้อมวงสนทนา ในหัวข้อ ตัวตน ชาติพันธุ์และการพลัดถิ่น
วันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม 2566 เวลา 9:00 – 15:00 น.
ณ โบราณสถานหมายเลข 16 ตำบลเวียง เมืองเชียงแสน

พิธีทางศาสนาสวดมาติกาบังสุกุลให้แก่บรรพบุรุษชาวไท-ยวน ซึ่งเป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงตัวเราในปัจจุบันเข้ากับผู้ล่วงลับในอดีต มีนัยยึดโยงกับความเชื่อของมนุษย์ต่อสิ่งที่มองไม่เห็น เป็นพื้นที่ที่สร้างความทรงจำร่วมและการรวมตัวกันของตัวแทนสมาคมสมาพันธ์ไท-ยวนแห่งประเทศไทย บำเพ็ญกุศลต่อชาวไท-ยวนผู้ล่วงลับ การบรรจุความหมายในเชิงสัญลักษณ์ถึงการกลับคืนสู่พื้นที่ทางภูมิศาสตร์และชุมชนดั้งเดิมทางประวัติศาสตร์

ในช่วงบ่ายจะมีกิจกรรมล้อมวงเสวนาหัวข้อ “ชาติพันธ์ุและการพลัดถิ่น” โดยตัวแทนสมาคมสมาพันธ์ไท-ยวนแห่งประเทศไทย นักวิชาการ ได้แก่ อาจารย์ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ ร่วมกับตัวแทนปราชญ์ชาวเชียงแสน พ่อบุญส่ง เชื้อเจ็ดตน และคุณสุพรรณ ทะสัน ดำเนินการเสวนาโดยจิระเดช มีมาลัย ตัวแทนกลุ่มศิลปินบ้านนอกฯ 

กำหนดการ
เวลา 09.00 – 10.00 น.: พิธีมาติกาบังสุกุล ปราชญ์ไท-ยวนผู้ล่วงลับ อาจารย์ ดร.อุดม สมพร (อดีตประธานสมาคมสมาพันธ์ไท-ยวนแห่งประเทศไทย)

  • อัญเชิญวัตถุ-เครื่องใช้สำคัญของ ดร.อุดม สมพร โดย คุณมัลลิกา สมพร (ธิดา)
  • พิธีสวดมาติกาบังสุกุล พิธีทางศาสนาที่โครงการฯ ได้รับความร่วมมือจากสมาคมสมาพันธ์ไท-ยวนแห่งประเทศไทย เดินทางมาจาก 10 จังหวัด
  • นิมนต์พระสงฆ์จำนวน 6 รูป จากวัดในตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน
  • พระสงฆ์สวดมาติกาบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลแก่ชาวไท-ยวนผู้ล่วงลับและเทศน์ 1 กัณฑ์

เวลา 13.00 – 15.00 น.: กิจกรรมการเสวนาไท-ยวนปิ๊กบ้าน หัวข้อ “ชาติพันธ์ุและการพลัดถิ่น”
ผู้ร่วมเสวนา:

  • อาจารย์ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ (PhD candidate) อาจารย์ภาควิชาสื่อ ศิลปะ และการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พ่อบุญส่ง เชื้อเจ็ดตน อุปนายกสมาคมสมาพันธ์ไท-ยวนแห่งประเทศไทย ปราญช์ด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองเชียงแสน ครูใหญ่โรงเรียนผู้สูงวัยเทศบาลตำบลเวียง เชียงแสน
  • คุณสุพรรณ ทะสัน นายช่างโยธา โครงการบูรณะและอนุรักษ์เมืองเชียงแสน
  • อาจารย์จิระเดช มีมาลัย (ผู้ดำเนินรายการเสวนา) ศิลปินและภัณฑารักษ์ ตัวแทนจากกลุ่มศิลปินบ้านนอกฯ

เกี่ยวกับกลุ่มบ้านนอก

บ้านนอก ความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรม
ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2554, ราชบุรี

บ้านนอก ความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรม (บ้านนอก คือชื่อหมู่บ้านที่ตั้งชุมชนหมู่ 2 ตำบลหนองโพ จังหวัดราชบุรี) เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร ขับเคลื่อนและก่อตั้งในปี พ.ศ. 2554 โดยศิลปินคู่ จิระเดช มีมาลัย และพรพิไล มีมาลัย หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘จิแอนด์ยิ่น’ เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างศิลปิน ภัณฑารักษ์ นักวิจัย กับชุมชน และสนับสนุนให้เกิดชุมชนศิลปะภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ให้บริการจัดการโครงการที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในพื้นที่ชุมชนด้วยวิธีวิทยาเชิงสหวิทยาการศิลป์เพื่อชุมชนทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติ เพื่อสร้างชุมชนที่ยั่งยืนตามนิยาม ‘บ้านนอก อนาคตคือปัจจุบัน’ กรรมการที่ปรึกษาได้แก่ จิแอนด์ยิ่น, สาครินทร์ เครืออ่อน, สวี่ เจีย เหว่ย และ หลัว ซื่อ ตง โดยทำงานร่วมกับสมาชิกองค์กร

โปรแกรมหลักได้แก่ 1. day OFF LABoratory โครงการศึกษาสหวิทยาการศิลป์นอกห้องเรียน และปฏิบัติการฝึกฝนในทุกๆ วันหยุดเรียน ภายใต้แนวคิดการสร้างสรรค์ศิลปะนอกห้องปฏิบัติการ และศิลปะความร่วมมือและการมีส่วนร่วม โดยมีชุมชนเป็นกรณีศึกษา และ 2. NPKD (หนองโพKiDดี) และ NPKD วิสาหกิจชุมชน บ่มเพาะการตระหนักรู้ต่ออัตลักษณ์ ทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม จนถึงการส่งเสริมให้ชุมชนสามารถเป็นผู้สร้างสรรค์ผลิตผลเพื่อจำหน่าย รวมถึงการสร้างทุนทางการเมือง-วัฒนธรรมที่เข้มแข็ง

https://www.thailandbiennale.org/artists/baan-noorg-collaborative-arts-and-culture/